นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ ต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือน กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนผู้ประกันตน ทั้งนี้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า
สำหรับ “ผู้ประกันตนที่ได้ชำระเงินสมทบเต็มจำนวนในอัตราเดิม ก่อนหน้าประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออก ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้” ขณะนี้ สำนักงานประกันสังคมกำลังดำเนินการจัดส่งเอกสารขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนทางไปรษณีย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวน หรือสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอรับเงินคืน (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน) และส่งเอกสารทางไปรษณีย์มายังสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยไม่ต้องเดินทางมา ณ สำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
และหลังจาก ครม. ไฟเขียว ประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ได้ระบุชัดเจนว่า ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพได้ (ขอเลือก)
แต่ในกรณี ที่เกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์อื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน ก็สามารถนำเงินชราภาพ บางส่วน ออกมาใช้ได้ก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (ขอคืน) และนอกจากนี้ สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ (ขอกู้)
เช็ค ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง มีคำตอบ
สรุปชัด ๆ ขอคืนเงินประกันสังคม ก่อนอายุ 55 ได้ไหม อัปเดตล่าสุด 2565 ไม่สามารถขอคืนเงินประกันสังคมก่อนอายุ 55 ปี ยกเว้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤติด้านเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน ก็ให้สามารถยืม เงินชราภาพบาางส่วนออกมาใช้ก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (ขอคืน) ได้ครับ
และผู้ประกันตนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพก่อนอายุ 55 ปี จะได้รับคืนเป็นเงินบำเหน็จ หรือผู้ประกันตนถึงแก่ความตายก่อนอายุ 55 ปี ทายาทจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จเท่านั้น
เช็ค ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง มีคำตอบ
อัปเดต วันนี้ ครม. เคาะ ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ยืมเงินชราภาพล่าสุด สำหรับผู้ประกันตน ม.33 เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามสถานการณ์ปัจจุบัน
ข่าวประกันสังคม เงินชราภาพล่าสุด ณ ที่ประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2565 อนุมัติไฟเขียว เห็นชอบหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กระทบต่อผู้ประกันตน รัฐบาลจึงเร่งแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มหลักประกันทางสังคม และสิทธิประโยชน์ เงินชราภาพ ของผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33) ให้มากขึ้น ดังนี้
1. การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตน ม.33 (จาก 60 ปี เป็น 65 ปีบริบูรณ์) ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ รวมถึงขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ (3 ขอ) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน ม.33 เงินชราภาพ ได้แก่ ขอเลือก สามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพได้ ขอคืน สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนได้ หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ที่กระทบต่อผู้ประกันตน ขอกู้ สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพยืมไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้
3. การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน และเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่ายร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 ส่วนใน กรณีสงเคราะห์บุตร ให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป